Thursday, 23 September 2010

REPMACS

     ในที่สุดวิชา Innovative Thinking ก็มาถึงวันสุดท้ายที่จะเรียนแล้ว ผู้เขียนรู็สึกสนุกกับวิชานี้มาก เพราะมันทำให้ผู้เขียนคนนี้มีความคิด และ ไอเดียที่แปลก ใหม่ และแตกต่างจากเดิม และในคาบสุดท้ายนั้นอาจารย์ธงชัยก็ได้สอนเกี่ยวกับ REPMACS สามารถเรียบเรียงใหม่ได้เป็น SCAMPER ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้เราได้ ไอเดีย อะไรใหม่ๆออกมา คำว่า SCAMPER มาจากตัวอักษรทั้ง 7 ตัวมารวมกันคือ

    S –> Substitute (ทดแทน)

เช่น คำว่าไอศครีมซันเดย์ มาจากที่เมืองๆหนึ่งที่ห้ามนำโซดามากินกับไอศครีมในวันอาทิตย์ จึงมีคนคิดใช้ ไซรัปมาแทน ทำให้เกิดเป็นไอศครีมซันเดย์ เพราะว่าขายเฉพาะวันอาทิตย์

image

    C –> Combine (ผสมผสาน)

เป็นการนำสิ่งต่างๆมาผสมผสานกัน เช่น บอลลูนรูปสัตว์ concreteโปร่งแสง

                image                                   image

     A –> Adapt (ปรับสิ่งอื่นมาใช้)

  อาจจะนำเอาหมวดอื่นๆมาประยุกต์ใช้ เช่น velcro หรือที่บ้านเราเรียกว่า ตีนตุ๊กแก นอกจากนี้แาจจะปรับตามพฤติกรรมก็ได้ เช่น สะพานที่เลียนแบบเปลือกตาคนเรา

                      image                                image

     M –> Modify (ปรับปรุง)

         –> Magnify (ขยายให้ใหญ่ขึ้น)

เช่น แตงโมญี่ปุ่น เข็มฉีด insulin ที่รูปร่างเหมือนปากกา หรือ Gundam เท่าของจริงไปเลย

                     image      image         

                                image

     P –> Put to other use (ประยุกต์)

โดยการนำสินค้าชนิดนี้ไปลองกับตลาดอื่น เช่น อ่างน้ำ jagucci ที่ตอนแรกตั้งใจให้คนที่เป็นโรคไขข้อ แต่ขายไม่ออก เลยไปขายกับกลุ่มคนรวยแทนเลยดังขึ้นมา

image

     E –> Eliminate (กำจัด)

ตัดบางอย่างทิ้งอาจจะได้รูปลักษณ์ใหม่ เช่น โดนัทเป็นรูตรงกลางเพราะเมื่อก่อนตรงกลางไม่สุกจึงตัดออก หรือจะเป็น keyboard ที่ไม่มีตัวแป้นพิมพ์

                     image                                   image

     R –> Rearrange (จัดเรียงใหม่)

         –> Reverse (ย้อนกลับ)

เช่น ย้อนกลับไปสมัยก่อนหรือเป็นการนำของเก่ามาประยุกต์กับของใหม่ เช่น pokia

image

 

     จะเห็นได้ว่า การที่จะสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆไม่ยากอย่างที่คิด แค่คิดในทุกๆมุมมอง ลองเปลี่ยนแนวความคิดดู ก็จะได้ไอเดียอะไรที่แปลก ใหม่ แน่นอน

Wednesday, 22 September 2010

Project

     แล้วก็มาถึงงานชิ้นสุดท้ายของวิชา Innovative Thinking นั่นก็คือ project ซึ่ง project จะทำอะไรก็ได้นอกจากอาหารและพวก software ต่างๆ ซึ่งเป็นโอกาสดี เพราะผู้เขียนเรียนมาทางด้านคอมพิวเตอร์ จะได้ทำอะไรแปลกๆใหม่ๆบ้าง

     ตอนแรกผู้เขียนก็คิดว่าจะทำอะไรดี นาฬิกา กล่องดินสอ ปากกา สมุด คอมพิวเตอร์ มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ จรวด กระสวยอวกาศ …….. สุดท้ายก็ทำ papercraft

   การทำ papercraft ก่อนอื่นเลยเราต้องหาแบบมาก่อน แต่ถ้าหาไม่ได้ก็คงต้องออกแบบเอง แต่เนื่องจากผู้เขียนเป็นคนวาดรูปห่วยมากกกกกกก ดังนั้นจึงเลือกที่จะหาแบบมา เมื่อได้แบบมาแล้ว ในนั้นก็จะมีวิธีทำมากมาย หลังจากนั้นก็เริ่มตัด ฉีก แปะ ติด ทำทุกอย่างเพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ โอ้ มันช่างง่ายจริงๆ

    เอาหละ งั้นมาดูดีกว่าว่าผู้เขียนทำอะไร

.

..

….

…..

……………………………………….

     เริ่มต้นด้วยแบบที่จะทำ

SAM_0011 

เมื่อได้แบบมาแล้วก็มาทำตัวโครงกันดีกว่า

 image 

หลังจากนั้นก็มาทำที่จับ ตัวยึดสาย

image

นำเชือกมาทำเป็นสายไวโอลิน แล้วนำทั้งหมดมาประกอบกัน

 

SAM_0062

จะเห็นว่าไม่ยากเลย แค่ต้องใช้ความอดทนซักหน่อย ซึ่งการทำอย่างนี้จะทำให้เรามีสมาธิมากขึ้น เป็นคนที่ใจเย็น และยังช่วยฝึกความอดทนด้วย

ผู้เขียนมีเว็บไซต์ที่ทำ papercraft มาฝาก หวังว่าทุกท่านจะลองกลับไปทำดูนะครับ

http://cp.c-ij.com/en/contents/1006/

Thursday, 16 September 2010

Sax Thinking Hit

  เอ๊ะ?? มันคืออะไร ไม่รู้จัก Sax Thinking Hit ที่จริงแล้วมันก็คือ Six Thinking Hat นั่นเอง (โห่ๆๆๆ….)  มันเป็นวิธีการคิดในแง่มุมหกแง่มุมด้วยกัน โดยคนที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมาก็คือ Edward de Bono

   image                                                    

Six thinking hat จะใช้หมวกแทนการคิดในเรื่องต่างๆ ที่เป็นหมวกก็เพราะว่าหมวกเป็นสิ่งที่ทุกคนรุ้กันอยุ่แล้ว ซึ่งคุณ Bono ก็ให้หมวกที่มีอยุ่ 6 ใบแทนสีที่แตกต่างกันแทนการคิดในแต่ละมุมมอง

image  หมวกสีขาว –> ดูว่าข้อเท็จจริงนั้นเป็นอย่างไร            image  หมวกสีเหลือง –> เป็นการคิดในแง่บวก

image  หมวกสีแดง –> เกี่ยวกับอารมณ์ เห็นปุ๊บแล้วรู้สึกยังไง   image  หมวกสีดำ –> ตรงข้ามกับหมวกสีขาวคือ คิดในแง่ลบ

image  หมวกสีเขียว –> ความคิดอย่างสร้างสรรค์ เป็นกลาง      image  หมวกสีน้ำเงิน –> เป็นหมวกที่คอยควบคุมหมวกอื่นๆ

ลองตั้งคำถามดูว่า ถ้าห้ามมีการขาย software เถื่อน จะเป็นอย่างไร

เรามาลองสวมหมวกทีละใบดูดีกว่า

    white hat: software แท้มีราคาแพงในขณะที่ของเถื่อนมีราคาถูกแต่คุณภาพอาจไม่ดีเท่าของแท้

     yellow hat: การอุดหนุนซื้อของแท้ช่วยให้ผู้เขียนมีกำลังใจในการผลิตสิ้นค้าใหม่ๆที่มีคุณภาพดีออกมามากขึ้น

     black hat: เนื่องจากต้องเสียค่า ลิขสิทธิ์อาจทำให้คนอื่นๆไม่มีโอกาสได้ใช้ softwareที่มีคุณภาพ

     green hat: อาจให้มีการเช่า software เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์มาก

   จะเห็นว่ามันไม่ยากเลย!!! ถ้าเราเปลี่ยนหมวกไปเรื่อยๆเราก็จะได้ความคิดที่หลายหลายและครบทุกมุม ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านทุกท่านลองนำหลักการนี้ไปใช้ ซึ่งจะช่วยท่านให้คิดแตกต่างจากเดิมและหลากหลายมากขึ้น

 

NLP

     หลังจากที่ไม่ได้เขียนมา blog มานานมากกกกกกก ผู้เขียนก็เลยขอมาอัพเดท blog กันหน่อย เนื่องด้วยวิชา innovative thinking นั้นอ.ธงชัย ได้เชิญคุณชาตรี เตชะสมบูรณากิจ มาพูดเกี่ยวกับเรื่อง NLP (Neuro - Linguistic Programming) แล้วมันคืออะไร?? มีประโยชน์ยังไง ??

clip_image002

     ก็อย่างที่เขียนไปแล้วว่า NLP มาจาก Neuro - Linguistic Programming ดังนั้นผู้เขียนขอแปลแต่ละคำเลยแล้วกัน

Neuro หมายถึง ระบบประสาทหรือระบบสมอง

Linguistic หมายถึง วิธีการที่มนุษย์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการตอบสนองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

Programming หมายถึง กระบวนการปลูกฝังวิธีคิด วิธีใช้ภาษาและการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เพื่อสร้างรูปแบบการคิดใหม่ ซึ่งจะทำให้การแสดงออกดียิ่งขึ้น

ดังนั้น NLP ก็คือ การที่ไปเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสมอง หรือการโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมในสมอง โดยการที่ผ่านสมองนั้นคนเราจะสามารถรับรู้สิ่งต่างๆผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆไม่ว่าจะเป็น ตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส แล้วแปลงความหมายต่างๆที่ได้รับเข้ามาผ่านทางจิตสำนึกต่างๆ ทำให้เกิดการแสดงออกทางร่างกาย และ พฤติกรรมของคนเรา

แล้วมันมีประโยชน์ไงหละ??.....

อย่างเช่นถ้าเราต้องการเปลี่ยนนิสัยบางอย่างที่มันอยู่ในจิตใต้สำนึก เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะมันจะมีเส้นบางๆกั้นอยู่ระหว่างจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก และการจะฝ่ามันเข้าไปได้เราอาจจะต้องใช้แรงมากเพื่อที่จะฝ่ามันเข้าไปได้ แต่อีกวิธีก็คือ NLP นั่นเอง!!!

ในกระบวนการรับรู้ของคนเรา เมื่อเรารับรู้ผ่านทางสิ่งต่างๆแล้วเราก็จะทำกับข้อมูลที่ได้รับ 3 อย่าง คือ

1. ลบทิ้ง การลบข้อมูลทิ้งอาจเป็นการที่เราไม่ใส่ใจมันก็ได้เช่น ขณะที่อ่านอยู่รู้สึกว่ามือข้างไหนออกแรงมากกว่ากัน ??

2. เปลี่ยนแปลง เราอาจจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เรารับเข้ามาเป็นอย่างอื่นที่เราต้องการ ซึ่งจะทำให้มันแตกต่างไปจากเดิม

3. ประยุกต์ใช้ เป็นการที่เราเอาสิ่งที่เคยผ่านมาแล้วมาวิเคราะห์ดู เช่น เราอาจเจอเก้าอี้หน้าตาแปลกๆ แต่เราก็รู้ว่ามันคือ เก้าอี้

   image

หลังจากที่ข้อมูลเหล่านี้เข้าสู่สมองแล้ว มันก็จะไปฉายซ้ำอีกทีซึ่งเรียกว่า ประสบการณ์ภายใน (Submodality) ซึ่งเป็นสิ่งที่เรากำลังสนใจ หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่สภาวะจิตซึ่งจะมีผลทำให้เราแสดงออกมาทางร่างกาย และ พฤติกรรม

              Submodality นี้เหมือนกับหนัง ดังนั้นเราจึงสามารถทำอะไรกับมันก็ได้ เช่น ทำให้มันเป็นขาวดำ ไม่มีเสียง ขนาดเล็ก ใหญ่ ……………. ได้ตามที่เราต้องการ

เราสามารถเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ภายในได้ โดยมีตัวช่วยคือ Submodality Check List

clip_image025

     Submodality Check list นี้จะเป็นส่วนช่วยให้เราสามารถที่จะปรับเปลี่ยนประสบการณ์ภายในเราได้ ขอยกตัวอย่างในด้านอาหาร สมมติว่าเราชอบกินคอหมูย่างมาก แต่อยากเลิกกินเพราะมันมีโทษแก่ร่างกายมาก ในขณะที่เราไม่ชอบส้มตำปลาร้าเลย เพราะมันกลิ่นเหม็นมาก อย่างนี้เราก็ใช้ วิธีนี้เข้ามาช่วยได้ เช่นลองนึกถึงภาพของคอหมูย่างเป็นยังไง แล้วก็ทำเครื่องหมายไว้ในช่องต่างๆ ต่อมาก็ทำของส้มตำปลาร้า แล้วทำเครื่องหมายบ้าง หลังจากนั้นดูว่าอันไหนที่แตกต่างกัน เช่นส้มตำเห็นเป็นขาวดำ คอหมูย่างเป็นภาพสี ก็ทำให้คอหมูย่างเปลี่ยนเป็นขาวดำแทน เมื่อทำครบแล้วเราก็จะอยากกินมันน้อยลง ?? จริงหรือไม่ผู้อ่านต้องลองเอง แต่สำหรับผู้เขียนก็ทำให้ไม่อยากกินไปหลายวันเลย